
นิสิตใหม่ MS53
หัวหน้าภาควิชา ศ.ดร.ดวงดาว อาจองค์ พร้อมด้วยคณาจารย์ ร่วมถ่ายภาพกับนิสิตใหม่ MS53 ในวันปฐมนิเทศ แนะนำการเรียน การใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสมาชิกของบ้านสีเทา (สีประจำภาควิชา)ยินดีต้อนรับนิสิตใหม่ทุกคนครับ #MatSciCU
หัวหน้าภาควิชา ศ.ดร.ดวงดาว อาจองค์ พร้อมด้วยคณาจารย์ ร่วมถ่ายภาพกับนิสิตใหม่ MS53 ในวันปฐมนิเทศ แนะนำการเรียน การใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสมาชิกของบ้านสีเทา (สีประจำภาควิชา)ยินดีต้อนรับนิสิตใหม่ทุกคนครับ #MatSciCU
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตัวแทนคณาจารย์จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ ประกอบไปด้วยศ.ดร.นิศานาถ รศ.ดร.รจนา อ.ดร.อรทัย และ อ.ดร.วุฒิชัย ร่วมเดินทางไปกับตัวแทนจากภาควิชาต่าง ๆของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเยี่ยมชมสถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือ PTT Innovation Institute (InI)ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่างหน่วยงานในอนาคต #MatSciCU
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ ในพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาฯ ประจำปี 2565 – 2566 ในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ เพื่อประกาศเกียรติคุณคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจแก่มหาวิทยาลัย โดยมีคณาจารย์ของภาควิชาวัสดุศาสตร์ที่ได้รับเกียรติดังนี้ 1. ศ.ดร. ดวงดาว อาจองค์ รางวัลประกาศเกียรติคุณ “ศาสตราจารย์”2. ผศ.ดร. อัญญพร บุญมหิทธิสุทธิ์ รางวัลประกาศเกียรติคุณ “ยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านกิจการนิสิต” (ประเภทผู้บริหาร) #MatSciCU
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอร่วมแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ หัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ เนื่องในวาระโอกาสที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2565 ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ #MatSciCU
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.รศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งจากการประชุมคณะกรรมการสมาคม ครั้งที่ 1 /2566 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 โดยให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเซรามิกส์ไทย วาระปี 2566 – 2567 (วาระ 2 ปี) โดยวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นการรวมสมาชิกจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านวิชาการ สนับสนุนด้านความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยต่าง เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านเซรามิกและวัสดุศาสตร์ของประเทศ#สมาคมเซรามิกส์ไทย#MatSciCU
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับคุณมาลี ธนาเพิ่มพูนผล MS 11 ที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ ขอเชิญพวกเราศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ ร่วมแสดงความยินดีได้ในงานคืนเหย้า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ สนามหน้าพระบรมรูป 2 รัชกาล * ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อร่วมงานได้ที่ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับพี่ฟอง MS11 คุณมาลี ธนาเพิ่มพูนผล ที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ ขอเชิญพวกเรามาแสดงความยินดีกับพี่ฟองได้ในงานคืนเหย้า วันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ สนามหน้าพระบรมรูป 2 รัชกาล * ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อร่วมงานได้ที่https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdr7YSgA3lVfM…/viewform #MatSciCU
เปิดผลงานนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น ประจำปี 2568 สาขาเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ – ผศ.ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์.นักวิจัยผู้มุ่งมั่นพัฒนาวัสดุพลังงานยุคใหม่ เพื่อรองรับอนาคตพลังงานสะอาดและยั่งยืนโดยเฉพาะการออกแบบและพัฒนาแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง ซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ และวัสดุจากพอลิเมอร์นำไฟฟ้า. ผลงานวิจัยครอบคลุมตั้งแต่ แบตเตอรี่สังกะสี-ไอออน (Zn-ion) วัสดุจากของเสียชีวมวล ไปจนถึงเทคโนโลยี photo-driven charge ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยระดับประเทศ-นานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเวทีวิชาการนานาชาติหลายรายการ ผลงานโดดเด่นด้าน การออกแบบวัสดุระดับนาโน สำหรับระบบเก็บพลังงานที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม.พลังงานอนาคตเริ่มต้นจากการออกแบบวัสดุที่ชาญฉลาด และนักวิจัยไทยคนนี้กำลังทำให้มันเกิดขึ้นจริง
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ในภาควิชาที่ได้รับรางวัลประจำปี 2568 กองทุนเพื่อการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร. อุไรวรรณ ลีลาอดิศร ในโอกาสที่ได้รับทุนส่งเสริมการกลับมาเริ่มต้นทําวิจัยใหม่ (Sci Re-engagement) ประจำปีงบประมาณ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น สาขาเทคโนโลยี ประจำปี 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล
โครงการวิจัยและพัฒนาอิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอิฐมวลเบาจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอย (Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB) ที่นำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้
วัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีสมบัติเทียบเท่าปูนซีเมนต์ แต่การผลิตวัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำกว่า สามารถสังเคราะห์ได้ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา (red stoneware tiles) จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต