อาจารย์ของภาควิชาฯ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2565

Previous Next ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร. นิศานาถ ไตรผล จากผลงานวิจัยเรื่อง “การควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีของพอลิไดอะเซทติลีนแอสเซมบลี : อิทธิพลของการจัดเรียงตัวสายโซ่ สารเติมแต่งแอลกอฮอล์ พอลิเมอร์ และตัวทำละลาย”และ รศ.ดร. มัณทนา โอภาประกาสิต จากผลงานวิจัยเรื่องในหัวข้อเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพสมบัติเฉพาะฐานพอลิแลคติกแอซิดและกระบวนการรีไซเคิลทางเคมีสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG)” ในโอกาสได้รับ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2565

Read More »

Materials Science Open House 2021

ขอเชิญชวนนักเรียน คุณครู และผู้ปกครอง ที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนของภาควิชาวัสดุศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม Science Chula Open House ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom Online) ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00-16.00 น. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ รอบเวลา 13:30, 14:30, 15:30 น.

Read More »

เราคืออันดับ 1 ของประเทศในสาขาวัสดุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์งานวิจัย ด้านวัสดุศาสตร์ เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย โดย U.S. News & World Report ซึ่งเป็นการจัดอันดับที่พิจารณาจากความมีชื่อเสียงและผลงานวิจัย  อ่านต่อได้ที่  https://www.usnews.com/education/best-global-universities/thailand/materials-science?fbclid=IwAR01mlh28hV0fUlmmSH8hTW0SHllGr1pnISMuBwJrGTP1nnlrQynwio-VQU

Read More »

Nanofibrillation and characterization of sugarcane bagasse agro-waste using water-based steam explosion and high-pressure homogenization

การพัฒนากระบวนการสะอาดในการเตรียมนาโนเซลลูโลสจากวัสดุชานอ้อย ด้วยเทคนิค “steam explosion” ร่วมกับ โฮโมจีไนซ์แรงดันสูง โดย อ.ดร. อินทัช หงส์รัตนวิจิตร และ อาจารย์ที่ปรึกษา ศ.ดร. ดวงดาว อาจองค์อ่านต่อได้ที่https://www.sciencedirect.com/…/pii/S0959652620335162

Read More »

Young Raising Star of Science Award 2021 [Silver Prize]

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนิสิต นายณัฐพันธ์ พองผลา, นางสาวยลดา อิสระเสรี และอาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.อรทัย บุญดำเนิน และผศ.ดร.อุษา แสงวัฒนโรจน์ กับผลงาน Superhydrophobic Rubber-Coated Fabric For Oil-Water Separation ในโอกาสได้รับรางวัล Sliver Prize ในการแข่งขัน Young Rising Star

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต (MS13)

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับ ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต (ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) หรือพี่เปิ้ล MS13 เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2564 สาขาวัสดุศาสตร์

Read More »

โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG : โดย CEO มบจ.บางจากฯ

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอขอบพระคุณคุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด สำหรับการบรรยายความรู้และประสบการณ์ ในหัวข้อ “โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG” ภายใต้โครงการ LEAP: Life Enrichment and Advancing Professionalship Program ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2311401 Industrial Plant Studies

Read More »

Controllable Morphology of Sea-Urchin-like Nickel–Cobalt Carbonate Hydroxide as a Supercapacitor Electrode with Battery-like Behavior

“การศึกษาการควบคุมสัณฐานวิทยาของวัสดุนิเกิล-โคบอลต์แบบ Sea-Urchin ที่ให้ประสิทธิภาพการเก็บพลังงานสูง ร่วมกับการศึกษากลไกลการเก็บประจุพลังงานด้วยเทคนิค time-resolved X-ray absorption spectroscopy” โดยงานวิจัยของ นายณัฐพงษ์ ภูมิผิว นิสิตระดับ ปริญญาเอก ภาควิชาวัสดุศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ และ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช อ่านบทความต่อได้ที่https://doi.org/10.1021/acsomega.1c02139

Read More »

Extraction of Nanofibrillated Cellulose from Water Hyacinth Using a High Speed Homogenizer

“เส้นใยนาโนเซลลูโลสสกัดจากวัชพืชผักตบชวาด้วยกระบวนการโฮโมจีไนเซชันด้วยแรงเชิงกลสูงเพื่อใช้สำหรับพัฒนานาโนเมมเบรนที่มีความแข็งแรงสูงและการสะท้อนน้ำสูง” โดยงานวิจัยของนางสาวศิริลักษณ์ เมฆฉ่ำ และนางสาวโชติรส คงวิทยา นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาวัสดุศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อัญญพร บุญมหิทธิสุทธิ์ และ ผศ.ดร.สุภโชค ตันพิชัยอ่านบทความต่อได้ที่ https://doi.org/10.1080/15440478.2021.1889432

Read More »

Improvement of alkali resistance of glass fiber from basalt and lignite bottom ash mixture by addition of ZrO2 content

“การผสมหินบะซอลต์ที่มีซิลิกาสูงกับเถ้าหนักจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะช่วยลดอุณหภูมิการหลอมและขึ้นรูปเส้นใยแก้ว เมื่อเพิ่มสมบัติความต้านทานต่อสภาพความเป็นด่างด้วยการเติม ZrO2 ทำให้สามารถนำเส้นใยแก้วที่ผลิตได้นี้ในงานคอนกรีตเสริมแรง แผ่นไฟเบอร์บอร์ด ไฟเบอร์ซีเมนต์ และงานอื่น ๆ ที่ใช้งานในสภาพความเป็นด่างได้” โดย อ.ดร. อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์อ่านต่อได้ที่ http://jmmm.material.chula.ac.th/…/jmmm/article/view/1099

Read More »
thThai
Scroll to Top