สัปดาห์วิทยาศาสตร์

นิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2566 @โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ตอบรับคำเชิญร่วมกิจกรรมแสดงนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมในวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2566 โดยทางภาควิชาฯ ได้ร่วมแสดงนิทรรศการเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนระดับมัธยมในหัวข้อเรื่อง “Functional Materials: Colorimetric sensor and Flexible quasi-solid-state rechargeable battery” #MatSciCU

Read More »
MS53

นิสิตใหม่ MS53

หัวหน้าภาควิชา ศ.ดร.ดวงดาว อาจองค์ พร้อมด้วยคณาจารย์ ร่วมถ่ายภาพกับนิสิตใหม่ MS53 ในวันปฐมนิเทศ แนะนำการเรียน การใช้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสมาชิกของบ้านสีเทา (สีประจำภาควิชา)ยินดีต้อนรับนิสิตใหม่ทุกคนครับ #MatSciCU

Read More »

เยี่ยมชมสถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือ PTT Innovation Institute (InI)

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตัวแทนคณาจารย์จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ ประกอบไปด้วยศ.ดร.นิศานาถ รศ.ดร.รจนา อ.ดร.อรทัย และ อ.ดร.วุฒิชัย ร่วมเดินทางไปกับตัวแทนจากภาควิชาต่าง ๆของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเยี่ยมชมสถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือ PTT Innovation Institute (InI)ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่างหน่วยงานในอนาคต #MatSciCU

Read More »

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาฯ ประจำปี 2565 – 2566

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ ในพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาฯ ประจำปี 2565 – 2566 ในวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ เพื่อประกาศเกียรติคุณคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจแก่มหาวิทยาลัย โดยมีคณาจารย์ของภาควิชาวัสดุศาสตร์ที่ได้รับเกียรติดังนี้ 1. ศ.ดร. ดวงดาว อาจองค์ รางวัลประกาศเกียรติคุณ “ศาสตราจารย์”2. ผศ.ดร. อัญญพร บุญมหิทธิสุทธิ์ รางวัลประกาศเกียรติคุณ “ยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านกิจการนิสิต” (ประเภทผู้บริหาร) #MatSciCU

Read More »

ศ.ดร. ดวงดาว ได้รับรางวัล”อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2565″

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอร่วมแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ หัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ เนื่องในวาระโอกาสที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2565 ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ #MatSciCU

Read More »

รศ.ดร. ศิริธันว์ นายกสมาคมเซรามิกส์ไทย คนใหม่ วาระปี 2566-2567

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.รศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งจากการประชุมคณะกรรมการสมาคม ครั้งที่ 1 /2566 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 โดยให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเซรามิกส์ไทย วาระปี 2566 – 2567 (วาระ 2 ปี) โดยวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นการรวมสมาชิกจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านวิชาการ สนับสนุนด้านความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแก้ปัญหาการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยต่าง เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านเซรามิกและวัสดุศาสตร์ของประเทศ#สมาคมเซรามิกส์ไทย#MatSciCU

Read More »

Research Updates

อิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์

โครงการวิจัยและพัฒนาอิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอิฐมวลเบาจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอย (Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB) ที่นำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้
วัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีสมบัติเทียบเท่าปูนซีเมนต์ แต่การผลิตวัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำกว่า สามารถสังเคราะห์ได้ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Read More »

Improving the technological properties of red stoneware tiles derived from Ratchaburi red clay by the addition of iron oxide

อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา  (red stoneware tiles)  จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก  ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง  การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง   ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983

Read More »

Reaction mechanisms of calcined kaolin processing waste-based geopolymers in the presence of low alkali activator solution

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต

Read More »

ZnFe2O4 Magnetic Nanoparticle–Polydiacetylene–Zinc(II) Composites for Real-Time Nanothermometers and Localizable Acid/Base Sensors

ศ. นิศานาถและคณะวิจัย ได้ประสบความสำเร็จในการนำออกแบบวัสดุ polydiacetylene ร่วมกับวัสดุ magnetic , ZnFe2O4 ในระดับนาโน โดยวัสดุ PDA/Zn2+/ZnFe2O4 ที่สังเคราะห์สามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดแบบผันกลับได้ในช่วงอุณหภูมิ 25 ถึง 95 °C, สามารถแสดงตอบสนองการเปลี่ยนสีแบบ real time ภายใต้สนามแม่เหล็ก, และสามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดสีภายใต้สภาวะกรดและเบส อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1021/acsanm.1c00160

Read More »

Reversible thermochromic polydiacetylene/zinc-aluminium layered double hydroxides nanocomposites for smart paints and colorimetric sensors: The crucial role of zinc ions

ศาตราจารย์ นิศานาถ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการนำวัสดุ zinc-aluminium layered double hydroxides (ZnAl-LDH) มาใช้ร่วมกับ polydiacetylene (PDA) ด้วยกระบวนการผสมที่เรียบง่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาวัสดุ reversible thermochromism ที่สามารถเปลี่ยนสีได้ช่วงอุณหภูมิ  50 to 90 องศาเซลเซียส   วัสดุคอมพอสิต (PDA/Zn2+/ZnAl-LDH)ที่ถูกพัฒนาขึ้นแสดงช่วงเชดสีที่เปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นและคงเสถียรภาพของสีได้ดีแม้ในสภาวะ กรด-เบส และตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยสมบัติดังกล่าวทำให้สามารถขยายขีดจำกัดในการใช้งานและขยายการใช้งานในอุตสาหกรรมสีและสารเคลือบขนาดใหญ่  อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่  https://doi.org/10.1016/j.colsurfa.2020.125733

Read More »
thThai
Scroll to Top