
รางวัลการวิจัยแห่งชาติ
#MatSciCU ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีร่วมกับ ศ.ดร.นิศานาถ ไตรผล เนื่องในวาระโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2566
#MatSciCU ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีร่วมกับ ศ.ดร.นิศานาถ ไตรผล เนื่องในวาระโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2566
#MatSciCU ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนางสาวสุขิตา ภูชะธง และนางสาวธีตามาส ปรักมาศ นิสิตของภาควิชาฯ ชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากโครงการ CSR Tollway Contest 2022 ปั้น ปลูก คิด(ส์) By Tollway Green Way เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยโครงการ CSR Tollway Contest เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมยกระดับความคิดเพื่อเปลี่ยนสังคม ปั้นคนรุ่นใหม่ ปลูกจิตสำนึก ยกระดับความคิด คิดช่วยเหลือพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน จัดกิจกรรมโดย บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/csrtollwaycontest
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตของภาควิชาฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากมูลนิธิทาคาฮาชิ เพื่อมอบทุนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการวิจัย Senior Project ระดับชั้นปีที่ 4 หลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ดังต่อไปนี้ 1. โครงการการพิมพ์สามมิติเซรามิกพรุนไฮดรอกซีอะพาไทต์สำหรับโพรงเลี้ยงเซลล์กระดูกเทียมดำเนินโครงการโดย น.ส.ศุภาพิซญ์ ทวีผลสมเกี่ยรติ และ น.ส.ณัชฌา สีมาตรา อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการคือ ผศ.ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ 2. โครงการการรีไซเคิลลูกถ้วยไฟฟ้าในการทำเป็นอิฐปูทางเท้าที่น้ำซึมผ่านได้ ดำเนินโครงการโดย นายรวิพล ยุทธดนัยกุล น.ส.สวรส สายทอง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการคือ ผศ.ดร. อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ โดยทั้งสองโครงการได้รับทุนสนับสนุนโครงการจากมูลนิธิฯ เป็นเงิน 50,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ มูลนิธิทาคาฮาชิก่อตั้งโดยกลุ่มบริษัท มินีแบมิตซูมิ ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนด้านทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลน ด้วยเล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ยังมีเยาวชนอีกมากที่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยตั้งชื่อมูลนิธิว่า “มูลนิธิทาคาฮาชิ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ มร.ทาคามิ ทาคาฮาชิ ผู้ก่อตั้งและประธานคนแรกของกลุ่มบริษัทมินีแบโดยคณะกรรมการมูลนิธิได้เดินทางมามอบทุนดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดี แก่นางสาวสุขิตา ภูชะธง นิสิตภาควิชาฯ ชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับรางวัล “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022” จากพิธีประกาศเกียรติคุณ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022” (Quality Persons of the Year 2022) ของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เนื่องในวันเทคโนโลยีแห่งชาติ (19 ตุลาคม 2565)
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดี แก่นางสาวสุขิตา ภูชะธง นิสิตภาควิชาฯ ชั้นปีที่ 3 เนื่องในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022” จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) โดยนิสิตจะได้รับรางวัลทุนการศึกษาพร้อมประกาศนียบัตร และได้รับการจารึกชื่อลงในทำเนียบเยาวชนคุณภาพแห่งปี ในวันเทคโนโลยีแห่งชาติ (19 ตุลาคม 2565) ที่จะถึงนี้
ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปรียาภัทร วงค์ไชยา ในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับทุนไปทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกที่ National Institute for Materials Science (NIMS) ประเทศญี่ปุ่น ——————–Congratulations to Preyaphat Wongchaiya, a PhD student of the Department of Materials Science, Faculty of Science, who has won the NIMS ICGP 2022 Readmore
เปิดผลงานนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น ประจำปี 2568 สาขาเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ – ผศ.ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์.นักวิจัยผู้มุ่งมั่นพัฒนาวัสดุพลังงานยุคใหม่ เพื่อรองรับอนาคตพลังงานสะอาดและยั่งยืนโดยเฉพาะการออกแบบและพัฒนาแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง ซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ และวัสดุจากพอลิเมอร์นำไฟฟ้า. ผลงานวิจัยครอบคลุมตั้งแต่ แบตเตอรี่สังกะสี-ไอออน (Zn-ion) วัสดุจากของเสียชีวมวล ไปจนถึงเทคโนโลยี photo-driven charge ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยระดับประเทศ-นานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเวทีวิชาการนานาชาติหลายรายการ ผลงานโดดเด่นด้าน การออกแบบวัสดุระดับนาโน สำหรับระบบเก็บพลังงานที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม.พลังงานอนาคตเริ่มต้นจากการออกแบบวัสดุที่ชาญฉลาด และนักวิจัยไทยคนนี้กำลังทำให้มันเกิดขึ้นจริง
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ในภาควิชาที่ได้รับรางวัลประจำปี 2568 กองทุนเพื่อการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร. อุไรวรรณ ลีลาอดิศร ในโอกาสที่ได้รับทุนส่งเสริมการกลับมาเริ่มต้นทําวิจัยใหม่ (Sci Re-engagement) ประจำปีงบประมาณ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น สาขาเทคโนโลยี ประจำปี 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล
โครงการวิจัยและพัฒนาอิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอิฐมวลเบาจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอย (Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB) ที่นำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้
วัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีสมบัติเทียบเท่าปูนซีเมนต์ แต่การผลิตวัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำกว่า สามารถสังเคราะห์ได้ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา (red stoneware tiles) จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต