Preyaphat

Congratulations to Preyaphat Wongchaiya, Our PhD student, who has won the NIMS ICGP 2022

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปรียาภัทร วงค์ไชยา ในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้รับทุนไปทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกที่ National Institute for Materials Science (NIMS) ประเทศญี่ปุ่น  ——————–Congratulations to Preyaphat Wongchaiya, a PhD student of the Department of Materials Science, Faculty of Science, who has won the NIMS ICGP 2022 Readmore

Read More »

รับสมัคร นิสิตใหม่ ป.โท และ ป.เอก (Graduate Student Admission)

Previous Next ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนิสิตใหม่เข้าเรียนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 ระหว่างวันที่ 1 ก.ย. – 31 ต.ค. 2565 (เริ่มเรียนภาคปลาย มกราคม 2566)มีหลักสูตรเปิดรับสมัครดังนี้1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิก3. หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดประกาศรับสมัครและสมัครผ่านระบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย https://www.register.gradchula.com———————————————————————-Open the application for graduate students in master degree and doctoral degree Admission, Second semester, Academic Year 2022.Application open during September 1st – October 31, 2022Apply : https://www.register.gradchula.com*** Available scholarship support from University for international student***

Read More »
icta2022

ICTA 2022

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Traditional and Advanced Ceramics 2022 และร่วมชมนิทรรศการ การแสดงสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและอุตสาหกรรมเซรามิก รวมถึงวัสดุขั้นสูง ในงาน ASEAN Ceramics 2022 มีกำหนดจัดงานระหว่าง 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565

Read More »
Conradt

Enhancing Furnace Performance by the Choice of Raw Materials

#MatSciCU ขอเชิญผู้สนใจ (นิสิตและบุคคลทั่วไป) ฟังบรรยายพิเศษ โดย Prof. Dr. Reinhard Conradt, President of the International Commission of Glass (ICG)หัวข้อ “Enhancing Furnace Performance by the Choice of Raw Materials”โดยจัดบรรยายแบบ hybrid ณ ห้อง 309 อาคารแถบ นีละนิธิ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสามารถเข้าร่วมผ่านช่องทาง online ผ่านโปรแกรม ZOOM Meeting ในวันอังคาร ที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 – 15:00 น.ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่ง หรือรับลิงค์ผ่านทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนลิงค์ลงทะเบียน https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdWvY…/viewform

Read More »
MSCU-ITC

โครงการบริการวิชาการการพัฒนาหลักสูตรของ ITC ประเทศกัมพูชา

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดโครงการบริการวิชาการการพัฒนาหลักสูตรของ ITC ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2565 โดยให้การต้อนรับคณาจารย์จาก INSTITUTE OF TECHNOLOGY OF CAMBODIA (ITC) ซึ่งประกอบไปด้วย Dr. Kimngun Bun, Dr. Phanny Yos และ Dr. Piseth Seab มีกิจกรรมในรูปแบบการอบรมพัฒนาหลักสูตรได้แก่ การให้คำปรึกษาพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรทางวัสดุศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นใน ITC, เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการในภาควิชาวัสดุศาสตร์, เยี่ยมชมภาควิชาโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และการยางแห่งประเทศไทย

Read More »

รางวัล “โครงการพัฒนาศักยภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาปี พ.ศ. 2565”

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร. พรนภา สุจริตวรกุล ในโอกาสได้รับรางวัล “โครงการพัฒนาศักยภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาปี พ.ศ. 2565″ ในหัวข้อวิจัย การพัฒนาตัวเร่งปฎิกิริยาเชิงแสงฐานโซเดียมแทนทาเลตที่ตอบสนองต่อแสงในช่วงที่ตามองเห็น”

Read More »

Research Updates

Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB

โครงการวิจัยและพัฒนาอิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอิฐมวลเบาจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอย (Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB) ที่นำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้
วัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีสมบัติเทียบเท่าปูนซีเมนต์ แต่การผลิตวัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำกว่า สามารถสังเคราะห์ได้ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Read More »

Improving the technological properties of red stoneware tiles derived from Ratchaburi red clay by the addition of iron oxide

อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา  (red stoneware tiles)  จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก  ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง  การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง   ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983

Read More »

Reaction mechanisms of calcined kaolin processing waste-based geopolymers in the presence of low alkali activator solution

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต

Read More »

ZnFe2O4 Magnetic Nanoparticle–Polydiacetylene–Zinc(II) Composites for Real-Time Nanothermometers and Localizable Acid/Base Sensors

ศ. นิศานาถและคณะวิจัย ได้ประสบความสำเร็จในการนำออกแบบวัสดุ polydiacetylene ร่วมกับวัสดุ magnetic , ZnFe2O4 ในระดับนาโน โดยวัสดุ PDA/Zn2+/ZnFe2O4 ที่สังเคราะห์สามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดแบบผันกลับได้ในช่วงอุณหภูมิ 25 ถึง 95 °C, สามารถแสดงตอบสนองการเปลี่ยนสีแบบ real time ภายใต้สนามแม่เหล็ก, และสามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดสีภายใต้สภาวะกรดและเบส อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1021/acsanm.1c00160

Read More »

Reversible thermochromic polydiacetylene/zinc-aluminium layered double hydroxides nanocomposites for smart paints and colorimetric sensors: The crucial role of zinc ions

ศาตราจารย์ นิศานาถ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการนำวัสดุ zinc-aluminium layered double hydroxides (ZnAl-LDH) มาใช้ร่วมกับ polydiacetylene (PDA) ด้วยกระบวนการผสมที่เรียบง่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาวัสดุ reversible thermochromism ที่สามารถเปลี่ยนสีได้ช่วงอุณหภูมิ  50 to 90 องศาเซลเซียส   วัสดุคอมพอสิต (PDA/Zn2+/ZnAl-LDH)ที่ถูกพัฒนาขึ้นแสดงช่วงเชดสีที่เปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นและคงเสถียรภาพของสีได้ดีแม้ในสภาวะ กรด-เบส และตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยสมบัติดังกล่าวทำให้สามารถขยายขีดจำกัดในการใช้งานและขยายการใช้งานในอุตสาหกรรมสีและสารเคลือบขนาดใหญ่  อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่  https://doi.org/10.1016/j.colsurfa.2020.125733

Read More »
en_USEnglish
Scroll to Top