Thanakorn, Congratulations

ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์

Read More »

Research Updates

รางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น

เปิดผลงานนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น ประจำปี 2568 สาขาเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ – ผศ.ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์.นักวิจัยผู้มุ่งมั่นพัฒนาวัสดุพลังงานยุคใหม่ เพื่อรองรับอนาคตพลังงานสะอาดและยั่งยืนโดยเฉพาะการออกแบบและพัฒนาแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง ซุปเปอร์คาปาซิเตอร์ และวัสดุจากพอลิเมอร์นำไฟฟ้า. ผลงานวิจัยครอบคลุมตั้งแต่ แบตเตอรี่สังกะสี-ไอออน (Zn-ion) วัสดุจากของเสียชีวมวล ไปจนถึงเทคโนโลยี photo-driven charge ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยระดับประเทศ-นานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเวทีวิชาการนานาชาติหลายรายการ ผลงานโดดเด่นด้าน การออกแบบวัสดุระดับนาโน สำหรับระบบเก็บพลังงานที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม.พลังงานอนาคตเริ่มต้นจากการออกแบบวัสดุที่ชาญฉลาด และนักวิจัยไทยคนนี้กำลังทำให้มันเกิดขึ้นจริง 

Read More »

คณาจารย์ภาควิชาได้รับรางวัลจากกองทุนเพื่อการวิจัย 2568

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ในภาควิชาที่ได้รับรางวัลประจำปี 2568 กองทุนเพื่อการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร. อุไรวรรณ ลีลาอดิศร ในโอกาสที่ได้รับทุนส่งเสริมการกลับมาเริ่มต้นทําวิจัยใหม่ (Sci Re-engagement) ประจำปีงบประมาณ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ พัฒนะนุวัฒน์ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่น สาขาเทคโนโลยี ประจำปี 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล

Read More »

Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB

โครงการวิจัยและพัฒนาอิฐมวลเบาก่อผนังเพื่อลดการ ถ่ายเทความร้อนด้วยเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอิฐมวลเบาจีโอพอลิเมอร์ฐานเถ้าลอย (Lightweight Fly ash-based Geopolymer Brick : LFGB) ที่นำวัสดุเหลือทิ้งกลับมาใช้
วัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุที่มีสมบัติเทียบเท่าปูนซีเมนต์ แต่การผลิตวัสดุจีโอพอลิเมอร์เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานต่ำกว่า สามารถสังเคราะห์ได้ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Read More »

Improving the technological properties of red stoneware tiles derived from Ratchaburi red clay by the addition of iron oxide

อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา  (red stoneware tiles)  จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก  ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง  การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง   ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983

Read More »

Reaction mechanisms of calcined kaolin processing waste-based geopolymers in the presence of low alkali activator solution

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต

Read More »
en_USEnglish
Scroll to Top