Improving the technological properties of red stoneware tiles derived from Ratchaburi red clay by the addition of iron oxide

อ.ดร.อภิรัฐ ธีรภาพวิเศษพงษ์ ร่วมกับ ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช และ ดร. นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผา  (red stoneware tiles)  จากดินแดงราชบุรี (Ratchaburi red clay) ซึ่งมีเหล็กออกไซด์เป็นองค์ประกอบที่พบปริมาณมาก  ถือว่าเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของดินชนิดนี้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความแข็งแรงสูง  การปรับปรุงคุณสมบัติของเครื่องปั้นดินเผาจากดินราชบุรีโดยการเลือกใช้ปริมาณเหล็กออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบอย่างเหมาะสมสามารถลดอุณหภูมิในการเผาผนึกลง โดยที่เนื้อเซรามิกที่ได้มีความแข็งแรงสูงขึ้นและมีการดูดซึมน้ำต่ำลง   ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกใช้หรือกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบประเภทดินแดงสำหรับงานเซรามิกระดับอุตสาหกรรม อ่านบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.cscm.2022.e00983

Read More »

รางวัล “โครงการพัฒนาศักยภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาปี พ.ศ. 2565”

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ขอร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร. พรนภา สุจริตวรกุล ในโอกาสได้รับรางวัล “โครงการพัฒนาศักยภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาปี พ.ศ. 2565″ ในหัวข้อวิจัย การพัฒนาตัวเร่งปฎิกิริยาเชิงแสงฐานโซเดียมแทนทาเลตที่ตอบสนองต่อแสงในช่วงที่ตามองเห็น”

Read More »

Reaction mechanisms of calcined kaolin processing waste-based geopolymers in the presence of low alkali activator solution

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์จากฐานวัสดุเหลือทิ้ง (กากดินขาวล้าง) ด้วยกระบวนการเตรียมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สารกระตุ้นแอลคาไลน์ปริมาณต่ำในกระบวนการขึ้นรูปแบบอัด ส่งเสริมทำให้เกิดปฏิกิริยาจีโอพอลิเมอไรเซชันที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารละลายแอลคาไลน์สูงในกระบวนการขึ้นรูปแบบหล่อแบบ จุดเด่นของจีโอพอลิมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในกระบวนการอัดนี้สามารถให้ประสิทธิภาพค่ากำลังรับแรงอัดที่สูงและสามารถลดระยะเวลาการบ่มลง โดยที่เวลาบ่ม 7 วัน (มีค่า 26.98 เมกะปาสคาล) มีค่าที่ใก้ลเคียงกับระยะเวลาบ่ม 28 วัน (มีค่า 28.55 เมกะปาสคาล) และผลจากงานวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ เพิ่มศักยภาพของวัสดุในประเทศ ผลงานของนิสิต

Read More »

ZnFe2O4 Magnetic Nanoparticle–Polydiacetylene–Zinc(II) Composites for Real-Time Nanothermometers and Localizable Acid/Base Sensors

ศ. นิศานาถและคณะวิจัย ได้ประสบความสำเร็จในการนำออกแบบวัสดุ polydiacetylene ร่วมกับวัสดุ magnetic , ZnFe2O4 ในระดับนาโน โดยวัสดุ PDA/Zn2+/ZnFe2O4 ที่สังเคราะห์สามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดแบบผันกลับได้ในช่วงอุณหภูมิ 25 ถึง 95 °C, สามารถแสดงตอบสนองการเปลี่ยนสีแบบ real time ภายใต้สนามแม่เหล็ก, และสามารถแสดงสมบัติการเปลี่ยนเฉดสีภายใต้สภาวะกรดและเบส อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1021/acsanm.1c00160

Read More »

Reversible thermochromic polydiacetylene/zinc-aluminium layered double hydroxides nanocomposites for smart paints and colorimetric sensors: The crucial role of zinc ions

ศาตราจารย์ นิศานาถ และคณะผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการนำวัสดุ zinc-aluminium layered double hydroxides (ZnAl-LDH) มาใช้ร่วมกับ polydiacetylene (PDA) ด้วยกระบวนการผสมที่เรียบง่ายที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาวัสดุ reversible thermochromism ที่สามารถเปลี่ยนสีได้ช่วงอุณหภูมิ  50 to 90 องศาเซลเซียส   วัสดุคอมพอสิต (PDA/Zn2+/ZnAl-LDH)ที่ถูกพัฒนาขึ้นแสดงช่วงเชดสีที่เปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นและคงเสถียรภาพของสีได้ดีแม้ในสภาวะ กรด-เบส และตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยสมบัติดังกล่าวทำให้สามารถขยายขีดจำกัดในการใช้งานและขยายการใช้งานในอุตสาหกรรมสีและสารเคลือบขนาดใหญ่  อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่  https://doi.org/10.1016/j.colsurfa.2020.125733

Read More »

Young Thai Science Ambassador​ 2021

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ ขอร่วมแสดงความยินดี กับนางสาว สุขิตา ภูชะธง นิสิตชั้นปีที่ 2 ในโอกาสได้รับรางวัล นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ยอดเยี่ยม (Young Thai Science Ambassador 2021, YTSA#17)

Read More »

Synthesis of color-responsive polydiacetylene assemblies and polydiacetylene/zinc(II) ion/zinc oxide nanocomposites in water, toluene and mixed solvents: Toward large-scale production

Polydiacetylenes (PDAs) วัสดุตัวรับรู้ที่สามารถเปลี่ยนสีภายใต้สิ่งเร้าภายนอก ถูกนำมาเพิ่มขีดความสามารถด้วยการทำวัสดุคอมพอสิต PDA/Zn2+/ZnO nanocomposites ด้วยกระบวนการที่เรียบง่ายโดยสังเคราะห์ผ่านตัวกลางทำละลายโทลูอีนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม และยังสามารถนำมาใช้ในการสร้างตัวรับรู้ในรูปแบบของแข็งได้อย่างหลากหลาย เช่น สารเคลือบกระจก, หมึกสีบนกระดาษ รวมไปถึงการนำมาผสมกับพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ เช่น พอลิเอทิลีน พอลิสไตรีน พอลิเมทิลอะคริเลต และพอลิ 4-ไวนิลไพริดีน โดยเฉพาะการผสมในสีอะคริลิกที่สามารถขยายขีดความสามารถของตัวรับรู้ให้ประยุกต์การใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ผลงานวิจัยของทีมวิจัย ศ. ดร. นิศานาถ ไตรผลอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่https://www.sciencedirect.com/…/pii/S0927775721003009

Read More »

รับสมัคร นิสิตใหม่ ป.โท และ ป.เอก (Graduate Student Admission)

Previous Next เปิดรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 ——————————- เปิดรับสมัคร 2 รอบ รอบที่ 1 : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2565 รอบที่ 2 : วันที่ 1

Read More »

Solution-mixing method for large-scale production of reversible thermochromic and acid/base-colorimetric sensors

การพัฒนากระบวนการเตรียมพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์/ซิงก์ออกไซด์นาโนคอมพอสิต ที่มีสมบัติ reversible thermochromic ด้วยเทคนิคsolution mixing ในเฟสของเหลวอย่างง่ายที่สามารถนำไปสู่การขยายสเกลระดับอุตสาหกรรม โดย ศ.ดร. นิศานาถ ไตรผล และทีมวิจัย อ่านต่อบทความได้ที่https://doi.org/10.1016/j.colsurfa.2021.126241

Read More »
en_USEnglish
Scroll to Top